พื้น Epoxy Anti static (พื้นอีพ็อกซี่ป้องกันไฟฟ้าสถิต)

แชร์ให้เพื่อน :

พื้น Epoxy Anti static (พื้นอีพ็อกซี่ป้องกันไฟฟ้าสถิต)

พื้น epoxy แบบนี้ เป็นพื้น epoxy แบบพิเศษที่มีความพิเศษคือ “ป้องกันและไม่สะสมไฟฟ้าสถิต”

พื้นกันไฟฟ้าสถิต (พื้นESD) เป็นพื้น epoxy ที่ใช้ช่วยปกป้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากความเสียหายที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตย์ที่สะสมขณะคนเดิน องค์ประกอบนำไฟฟ้า เช่น คาร์บอน กราไฟต์ หรืออนุภาคที่เคลือบด้วยโลหะ ซึ่งกระจายไปทั่ววัสดุปูพื้นนำไฟฟ้าของพื้นESD และสร้างทางเดินไฟฟ้าจากพื้นลงสู่พื้นดิน ใช้ในโรงงานที่ต้องการผลิตวัสดุ หรือชิ้นส่วนอิเลกทรอนิกส์ หรือ ห้องที่อาจจะได้รับความเสียหายจากไฟฟ้าสถิดเช่น ฟ้องผ่าตัด ห้องทางทารแพทย์ ห้องทดลอง เป็นต้น

คุณลักษณะพิเศษของพื้น Epoxy Anti static (พื้นอีพ็อกซี่ป้องกันไฟฟ้าสถิต)

– พื้นอีพ็อกซี่ชนิดป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ มีคุณลักษณะพิเศษตามชื่อเลยคือ “ป้องกันไฟฟ้าสถิต”
– มีความทนทานต่อการใช้งาน,
– ไม่มีรอยต่อและป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตย์ เหมาะสำหรับพื้นที่แห้งและใช้งานปานกลางถึงใช้งานหนัก
– การป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตย์ทำให้การคำนวณหรือการวัดค่าต่างๆมีความแม่นยำ
– มีค่าการต้านทานไฟฟ้าที่ประมาณ 106 – 109 โอห์ม
– ป้องกันการจุดระเบิด (Spark) เป็นต้น

 

พื้น Epoxy Anti static (พื้นอีพ็อกซี่ป้องกันไฟฟ้าสถิต) เหมาะกับพื้นโรงงานอิเลกทรอนิกส์

 

ขั้นตอนการทำพื้น Epoxy Anti static (พื้นอีพ็อกซี่ป้องกันไฟฟ้าสถิต)

ขั้นตอนที่ 1. ตรวจสอบค่าความชื้นก่อนการติดตั้ง ด้วยเครื่อง Protimeter (ค่ากำหนด PROACTไม่เกิน 10%) และ ตรวจสอบทางกายภาพ ด้วยพลาสติกใสคลุมปิดพื้น 5 วัน เพื่อทดสอบความชื้น จากใต้ดิน​
ขั้นตอนที่ 2. ขัดเตรียมผิว ด้วยเครื่องขัด Grinding Machine​
ขั้นตอนที่ 3. ปาดผิวด้วย ProAct Miosture Barriear และทิ้งไว้ให้แห้ง​
ขั้นตอนที่ 4. เคลือบ ProAct Epoxy Primer บน Moisture Barriear และทิ้งไว้ให้แห้ง​
ขั้นตอนที่ 5. เคลือบ Scratch Coating ด้วย ProAct Epoxy บน ProAct Epoxy Primer และทิ้งไว้ให้แห้ง​
ขั้นตอนที่ 6. ติดตั้ง Copper Tape เพื่อเป็นตัวนำประจุไฟฟ้า สู่จุดเชื่อมต่อลงดิน​
ขั้นตอนที่ 7. เคลือบวัสดุ Carbon Black Primer ทับ บน Copper tape และผิว Scratch Coat ที่ และทิ้งไว้ให้แห้ง​
ขั้นตอนที่ 8. ตรวจสอบวัดค่าความต้านทานบน Carbon Black Primer บน Carbon Black Primer​
ขั้นตอนที่ 9. เคลือบวัสดุ Conductive Epoxy Topcoat ทับ บน Carbon Black Primer และทิ้งไว้ให้แห้ง​
ขั้นตอนที่ 10. ตรวจสอบวัดค่าความต้านทานบน Conductive Epoxy บน Conductive Epoxy ต้องได้ค่า 10 ยกกำลัง3 – 10 ยกกำลัง4 โอม​

พื้นป้องกันไฟฟ้าสถิตประเภทนี้ นิยมใช้กันแพร่หลาย ในหมู่โรงงานอิเล็กทรอนิกส์ มีให้เลือก 2 ชนิด คือ

  • Conductive floor ค่าความต้านทานพื้นผิว (surface resistance) อยู่ระหว่าง 10⁴ -10⁶ ohm
  • Dissipative floor ค่าความต้านทานพื้นผิว (surface resistance) อยู่ระหว่าง 10⁶ -10⁹ ohm

ลักษณะการใช้งานพื้น Epoxy Anti static (พื้นอีพ็อกซี่ป้องกันไฟฟ้าสถิต)
– ห้องไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์
– ห้องควบคุม คลังวัตถุ
– ห้องควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
– พื้นโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
– พื้นห้องคลีนรูม (Clean room) ที่ควบคุมปริมาณฝุ่น
– โรงพยาบาลในส่วนของห้องต่างๆ เช่นห้องผ่าตัด เป็นต้น
– โรงงานผลิตอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์

แชร์ให้เพื่อน :