พื้น Epoxy Anti static (พื้นอีพ็อกซี่ป้องกันไฟฟ้าสถิต)
พื้น epoxy แบบนี้ เป็นพื้น epoxy แบบพิเศษที่มีความพิเศษคือ “ป้องกันและไม่สะสมไฟฟ้าสถิต”
พื้นกันไฟฟ้าสถิต (พื้นESD) เป็นพื้น epoxy ที่ใช้ช่วยปกป้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากความเสียหายที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตย์ที่สะสมขณะคนเดิน องค์ประกอบนำไฟฟ้า เช่น คาร์บอน กราไฟต์ หรืออนุภาคที่เคลือบด้วยโลหะ ซึ่งกระจายไปทั่ววัสดุปูพื้นนำไฟฟ้าของพื้นESD และสร้างทางเดินไฟฟ้าจากพื้นลงสู่พื้นดิน ใช้ในโรงงานที่ต้องการผลิตวัสดุ หรือชิ้นส่วนอิเลกทรอนิกส์ หรือ ห้องที่อาจจะได้รับความเสียหายจากไฟฟ้าสถิดเช่น ฟ้องผ่าตัด ห้องทางทารแพทย์ ห้องทดลอง เป็นต้น
คุณลักษณะพิเศษของพื้น Epoxy Anti static (พื้นอีพ็อกซี่ป้องกันไฟฟ้าสถิต)
– พื้นอีพ็อกซี่ชนิดป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ มีคุณลักษณะพิเศษตามชื่อเลยคือ “ป้องกันไฟฟ้าสถิต”
– มีความทนทานต่อการใช้งาน,
– ไม่มีรอยต่อและป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตย์ เหมาะสำหรับพื้นที่แห้งและใช้งานปานกลางถึงใช้งานหนัก
– การป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตย์ทำให้การคำนวณหรือการวัดค่าต่างๆมีความแม่นยำ
– มีค่าการต้านทานไฟฟ้าที่ประมาณ 106 – 109 โอห์ม
– ป้องกันการจุดระเบิด (Spark) เป็นต้น
ขั้นตอนการทำพื้น Epoxy Anti static (พื้นอีพ็อกซี่ป้องกันไฟฟ้าสถิต)
ขั้นตอนที่ 1. ตรวจสอบค่าความชื้นก่อนการติดตั้ง ด้วยเครื่อง Protimeter (ค่ากำหนด PROACTไม่เกิน 10%) และ ตรวจสอบทางกายภาพ ด้วยพลาสติกใสคลุมปิดพื้น 5 วัน เพื่อทดสอบความชื้น จากใต้ดิน
ขั้นตอนที่ 2. ขัดเตรียมผิว ด้วยเครื่องขัด Grinding Machine
ขั้นตอนที่ 3. ปาดผิวด้วย ProAct Miosture Barriear และทิ้งไว้ให้แห้ง
ขั้นตอนที่ 4. เคลือบ ProAct Epoxy Primer บน Moisture Barriear และทิ้งไว้ให้แห้ง
ขั้นตอนที่ 5. เคลือบ Scratch Coating ด้วย ProAct Epoxy บน ProAct Epoxy Primer และทิ้งไว้ให้แห้ง
ขั้นตอนที่ 6. ติดตั้ง Copper Tape เพื่อเป็นตัวนำประจุไฟฟ้า สู่จุดเชื่อมต่อลงดิน
ขั้นตอนที่ 7. เคลือบวัสดุ Carbon Black Primer ทับ บน Copper tape และผิว Scratch Coat ที่ และทิ้งไว้ให้แห้ง
ขั้นตอนที่ 8. ตรวจสอบวัดค่าความต้านทานบน Carbon Black Primer บน Carbon Black Primer
ขั้นตอนที่ 9. เคลือบวัสดุ Conductive Epoxy Topcoat ทับ บน Carbon Black Primer และทิ้งไว้ให้แห้ง
ขั้นตอนที่ 10. ตรวจสอบวัดค่าความต้านทานบน Conductive Epoxy บน Conductive Epoxy ต้องได้ค่า 10 ยกกำลัง3 – 10 ยกกำลัง4 โอม
พื้นป้องกันไฟฟ้าสถิตประเภทนี้ นิยมใช้กันแพร่หลาย ในหมู่โรงงานอิเล็กทรอนิกส์ มีให้เลือก 2 ชนิด คือ
- Conductive floor ค่าความต้านทานพื้นผิว (surface resistance) อยู่ระหว่าง 10⁴ -10⁶ ohm
- Dissipative floor ค่าความต้านทานพื้นผิว (surface resistance) อยู่ระหว่าง 10⁶ -10⁹ ohm
ลักษณะการใช้งานพื้น Epoxy Anti static (พื้นอีพ็อกซี่ป้องกันไฟฟ้าสถิต)
– ห้องไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์
– ห้องควบคุม คลังวัตถุ
– ห้องควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
– พื้นโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
– พื้นห้องคลีนรูม (Clean room) ที่ควบคุมปริมาณฝุ่น
– โรงพยาบาลในส่วนของห้องต่างๆ เช่นห้องผ่าตัด เป็นต้น
– โรงงานผลิตอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์